วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัตว์ป่าสงวนของไทย


สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า


-สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
-ห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
-ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน



1.นกกระเรียน



: Grus antigone

: Gruidae



เป็นนกขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายนกกระสา คอยาว ขายาว จงอยปากยาวตรงปรายเรียวแหลมแตกต่างกันเด่นชัดที่ขนปีกบินกลางปีก (Secondaries) ยาวคลุมเลยปลายขนหาง ส่วนขนปีกบินกลางของนกกระสาจะสั้นกว่า คลุมไม่ถึงปลายขนหางส่วนใหญ่ขนของลำตัวเป็นสีเทา แต่ขนปลายปีกสีค่อนข้างดำ คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยเปล่าสีแดง ไม่มีขน ตอนหน้าผากและตอนบนของหัวนั้นเป็นหนังสีเขียวอ่อนๆข้างแก้มและท้ายทอย ผิวหนังเป็นสีแดงเข้ม ม่านตาสีเหลืองเข้ม ปากสีดำแกมเขียว แข้งและนิ้วเท้าสีชมพูเรือๆ นกที่อายุยังน้อยมีขนอุยสีน้ำตาลที่หัวและคอด้วย ขนาดลำตัวมีความยาวประมาณ 152 ซ.ม.สูงราว150 ซ.ม. เป็นนกที่สูงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


นกกระเรียนไทยในสมัยก่อนเป็นนกที่พบเห็นได้ประปราย ตามทุ่งนาแทบทุกภาคของประเทศไทย ชอบอาศัยหากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น หนอง บึง ทุ่งนา ทุ่งหญ้าที่น้ำขัง ทุ่งหญ้าโล่งๆในบางครั้งพบหากินตามชายฝั่งของแม่น้ำด้วย เหตุที่นกกระเรียนชอบอาศัยและเดินหากินในที่โล่งๆ ไม่ขึ้นไปเกาะต้นไม้อย่างนกอื่นๆ เพราะไม่มีนิ้วเท้าหลังเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกาะ จึงเป็นนกที่ไม่สามารถเกาะบนต้นไม้ได้ ต้องใช้ชีวิตอยู่บนที่โล่ง ในขณะที่กระแสการพัฒนาพื้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้แหล่งอาศัยหากินเปลี่ยนแปลงสภาพ จากพื้นที่ชุ่มน้ำไปสู่พื้นที่เพื่อการเกษตรพื้นที่ อุตสาหกรรมพื้นที่เมือง เป็นต้น จึงทำให้ประชากรของนกถูกจำกัดบริเวณในการหากินหรือย้ายแหล่งหากินไปในถิ่นอื่น


นกกระเรียนไทยซึ่งเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยเป็นนกที่ชอบไปไหนมาไหนเป็นฝูงใ
หญ่ ฝูงนกกระเรียนไทยจะบินเป็นแถวรูปตัววี (V) หรือบางทีก็เป็นแถวหน้าหระดาน โดยนกที่บินนำหน้าจะส่งเสียงร้องเพื่อเตือนให้นกตัวอื่นๆบินอยู่ในแถวหรือบินจับกลุ่มไว้ เสียงร้องจะดังมาก ตามปกตินกกระเรียนไทยจะบินสูงมาก แต่จะสูงมากน้อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของลม ในเวลาบินคอนกกระเรียนไทยจะยืดยาวออกไปข้างหน้าและขายื่นไปข้างหลัง เช่นเดียวกับพวกนกกระสา ในบางครั้งมันก็พากันบินร่อนเป็นวงกลมอีกด้วย นกกระเรียนไทยจะกระพือปีกลงช้าๆ สลับกับกระพือปีกขึ้นอย่างรวดเร็ว มมันไม่ชอบร่อนนอกจากในเวลาที่จะลงพื้นดิน
นกกระเรียนไทยมักจะร้องบ่อยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในขณะบินข้ามถิ่น เสียงร้องดังก้องและได้ยินได้ในระยะไกล ในขณะบินเสียงร้องอันดังก้องนี้จะเป็นตัวในการควบคุมนกแต่ละตัวให้บินได้โดยไม่แตกจากฝูง ส่วนในเวลาที่มันกำลังหากินบนพื้นดิน บางครั้งก็ส่งเสียงร้องเหมือนกัน
โดยทั่วๆ ไป นกกระเรียนไทยจะผสมพันธุ์กันในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ซึ่งตรงกับฤดูฝนนกกระเรียนไทยเป็นนกที่หวงแหนแหล่งผสมพันธุ์ของมันมาก และจะกลับมายังแหล่งผสมพันธุ์เดิมของมันยกเว้นแหล่งผสมพันธุ์จะถูกทำลายจนหมดสภาพไปแล้ว
นกกระเรียนไทยจะวาไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่บางครั้งก็ฟองเดียว มีน้อยครั้งที่จะวางไข่ถึง 3 ฟอง ไข่มีลักษณะรูปไข่ยาว สีขาวแกมฟ้าหรือเขียวอ่อน บางทีไม่มีจุด บางทีมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงจางๆ ไข่ยาวเฉลี่ย 101.1 มม
. กว้าง 63.8 มม. หนักประมาณ 120-170 กรัม ระยะเวลาในการกกไข่จะอยู่ในช่วงระหว่าง 28-30 วัน ถึงแม้จะวางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่จะรอดตายเพียงครั้งเดียว ลูกนกจะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อนกประมาณ 2.5-3 เดือน ลูกนกจึงจะเริ่มบินได้ นกกระเรียนไทยจะโตเต็มวัยและเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี
การทำรัง นกกระเรียนไทยจะทำรังบนพื้นดินด้วยหญ้าแห้งและใบไม้มากองสุมกันขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 60-240 ซ.ม. โดยมีที่กำบังมิดชิดและยากที่จะเข้าถึงได้ง่าย เพราะอยู่บนพื้นดินกลางหนอง บึงหรือมีน้ำแฉะๆ ล้อมรอบ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียจะช่วยกันทำรังและเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่นกประมาณ 9 เดือน จึงจะแยกออกไปหากินเอง พอถึงฤดูผสมพันธุ์ลูกนกจะกลับมารวมฝูงอีกครั้งหนึ่ง

นกกระเรียนไทยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยนานมาแล้ว ปัจจุบันนกกระเรียนไทยได้ถูกให้จัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนึ่งใน สิบห้าชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย ทั้งนี้เพราะคนสมัยก่อนได้ล่ายิงกันมาก รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของมันก็ถูกคุกคาม จนกระทั่งไม่สามารถดำรงชีวิตและอาศัยอยู่ได้ โดยได้หายสาปสูญไปจากประเทศไทยกว่า 20 ปีมาแล้ว
ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้พยายามนำนกกระเรียนไทยกลับสู่ ถิ่นเดิมของมันในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยความริเริ่มของมูลนิธิสากลเพื่อการอนุรักษ์นกกระเรียน(International Crane Foundation) หรือ ICF แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยมีการศึกษาและขยายพันธุ์ตามโครงการอนุรักษ์นกกระเรียนที่เขตห้ามล่า สัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี หากการศึกษาขยายพันธุ์ ได้นกกระเรียนเป็นจำนวนมาก กรม
ป่าไม้มีโครงการนำ นกกระเรียนไทยเหล่านั้นไปปล่อยตามแหล่งเดิม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งอาศัยและหากินตามธรรมชาติ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

2.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินทร


: นกเจ้า หรือ นกตาพอง

: Pseudocheliden sirintarae Thonglonya

: Hirun
dinidae

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่นชนิดใหม่ล่าสุดของโลก และเป็นนกชนิดแรกที่ค้นพบใหม่โดยคนไทย ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและจำแนกตัวอย่างต้นแบบโดยคนไทยและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยคนไทย โดยได้อันเชิญพระนามของเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดา ( พระยศในขณะนั้น ) มาตั้งเป็นชื่อชนิดของนกที่พบใหม่นี้คือ “ Sirintarae ”
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบครั้งแรกโดย คุณกิตติ ทองลงยา นักวิทยาศาสตร์ไทย ตำแหน่งภัณฑารักษ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2511 โดยได้นกตัวอย่างแรกนี้ปะปนมากับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจับมาขายจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในครั้งนั้นสามารถเก็บรวบรวมนกจากแหล่งเดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้นกตัวอย่างต้นแบบในการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดรวม 10 ตัว ภายหลังจากการถูกค้นพบแล้ว มีรายงานพบนกที่ถูกจับมาขายอีก 2 ครั้ง ต่อมาในปี 2515 ได้พบนกจำนวน 2 ตัว และครั้งสุดท้ายพบเพียง 1 ตัวในปี 2521 นับจากนั้นยังไม่มีรายงานการพบเห็นอย่างเป็นทางการหรือถูกดักจับได้อีกจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรต่างไปจากนกนางแอ่นทั่ว ๆ ไป แต่มีรูปร่างคล้ายและจำแนกอยู่ร่วมสกุลเดียวกับนกนางแอ่นเทียมคองโก ( pseudochelidon eurystomina ) ซึ่งเป็นนกนางแอ่นที่มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำคองโก ประเทศซาอีร์ ตอนกลางของทวีปแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น ส่วนลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัด ได้แก่ สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีดำออกเหลืองเขียวหรือน้ำเงินเข้มบริเวณหน้า ผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขอบตาขาว ตา และม่านตาเป็นสีขาว มีสีชมพูเรื่อ ๆ เป็นวงในม่านตา แข้งและขาสีชมพู บริเวณสะโพกสีขาว ขนหางสั้นมนกลม ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาคล้ายหางบ่วงเห็นชัดเจน และขนบริเวณใต้คอเป็นสีน้ำตาลอมดำ
ขนาดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร วัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 เซนติเมตร จัดเป็นนกนางแอ่นขนาดใหญ่ และจากลักษณะที่มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูคล้ายตาโปนพองออกมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “ นกตะพอง ”


มีรายงานว่าการพบตัวเพียงแห่งเดียวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษจิกายน – มีนาคม จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น 1 ใน 2 ชนิดของไทย


นิสัยทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค่อนข้าง เชื่องไม่ปราดเปรียว และชอบชอบเกาะนิ่งอยู่กับพื้นซึ่งแตกต่างกับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ในช่วงฤดูหนาวมักพบเห็นอยู่ปะปนกับฝูงนกนางแอ่นบ้าน นกกระจาบและนกกระจาบปีกอ่อนตมพงอ้อและดงต้นสนุ่นตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ไม่มีรายงานการพบเห็นหรือจับตัวได้ในช่วงฤดูร้อน จึงคาดว่านกฟ้าหญิงสิรินธรจะอพยพมาหากินตามแหล่ง
น้ำตื้นใกล้ชายฝั่งในช่วงฤดูหนาว ทำให้ถูกดักจับด้วยตาข่ายได้เนือง ๆ จากหลักฐานข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ว่า นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่นของบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาว
การจับคู่ผสมพันธ์และทำรังวางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ไม่ทราบแน่นอน แต่ทราบว่าน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นเทียมคองโกของแอฟริกา ซึ่งมีการจับคู่ผสมพันธุ์และทำรังวางไขาในช่วงฤดูร้อน โดยจะทำรังไข่โดยการขุดรูตามพื้นหาดทราย หรือหาดทรายบนเกาะกลางน้ำ ซึ่งมีพบอยู่มากทางตอนเหนือของบึงบรเพ็ดขนากของรุรังลึก 1-2 เมตร วางไข่ชุดละ 2-3 ใบ


ภายหลังจากที่ไม่มีการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรใน บึงบอระเพ็ดมาเป็นเวลา 15 ปีทำให้เชื่อว่า นกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากบึงบอระเพ็ด ซึ่งหมายถึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกไปแล้วหรืออาจจะยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็น้อยมาก ทั้งนี้มีสาเหตุมารจากนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แล้วยังถูกล่าหรือถูกดักจับไปพร้อมนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ประกอบกับแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลายไปโดยการประมงและการเปลี่ยนแปลงของหนองบึงเป็นนา
ข้าวหรือทุ่ง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการควบคุมน้ำในบึเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการอยู่รอดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นอย่างยิ่ง

3.กระซู่




: Dicerorhinus sumatrensis


: Rhinocerotidae

กระซู่เป็นสัตว์จำพวกแรด เนื่องจากมี นอ ซึ่งเป็นเขาที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นขนจนแข็งติดอยู่บนดั้งจมูก ไม่มีแกนขาที่เป็นส่วนของกระโหลกศรีษะ ลักษณะเป็นเขาหรือนอเดี่ยว ถึงแม้กระซู่จะมีนอ 2 นอ แต่นอทั้ง 2 มีขนาดไม่เท่ากัน เรียงเป็นแถวอยู่บนดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัว ควาย ซึ่งเป็นเขาคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ตัวเขากลางสวมทับบนแกนกระดูกเขาบนกระโหลกศรีษะ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ที่ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน ใช้ชื่อสกุล Dicerorhinus ซึ่งตั้งขึ้นโดย Gloger ในปี ค.ศ. 1841 ส่วนชื่อสกุลที่มีการใช้ซ้ำ ๆ กัน คือ Didermocerus ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่ตั้งขึ้นก่อนนั้นเป็นชื่อที่ใช้ในทางการค้า ไม่ได้ตั้งขึ้นตามอนุกรมวิธาน จึงไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ใช้เป็น Didermocerus Sumatrensis จึงไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์




กระซู่เป็นภาษากะเหรี่ยงที่เรียกแรดที่มี2นอกระซู่เป็นสัตว์จำพวก แรดที่มีขนาดเล็กที่สุดลักษณะ ทั่วไปคล้ายแรด คือมีลำตัวล่ำใหญ่ ขาทั้ง 4 ข้างสั้นใหญ่ เท้ามีกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 นิ้ว ตาเล็ก ใบหูใหญ่ตั้งตรง แตกต่างกันที่ขนาดของตัวกระซู่จะเล็กกว่าหนังตามตัวบางกว่าไม่มีลายเป็นตุ่ม หรือเม็ดมีหนังเป็นพับ ข้ามหลังบริเวณด้านหลังของหัวไหล่พับเดี่ยว ส่วนของแรดมี 3 พับชัดเจน มีขนตามตัวและขอบใบหูดกกว่า โดยเฉพาะช่วงอายุน้อย ๆ ครั้นเมื่ออายุมากขึ้นขนตามตัวอาจหลุดร่วงไปบ้าง เหนือโคนหางขึ้นไปถึงบริเวณสะโพกจะปรากฏรอย สันนูนของกระดูกหางชัดเจน และที่สำคัญคือ กระซู่มีนอ 2 นอ เรียงเป็นแถวบนสันดั้งจมูกนออันหน้ายาวกว่านออันหลัง ขนาดของนออันหน้ายาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนออันหลังยาวเพียงประมาณ 10 เซนติเมตร นอหน้าของกระซู่เมียมักเล็กกว่า แต่ยาวกวานอตัวผู้ น
อตัวผู้มักใหญ่กว่า แต่สั้นกว่านอตัวเมีย นอกจากนี้ กระซู่เมื่อโตเต็มวัย จะมีฟันหน้ากรามล่าง 2 ซี่ ส่วนแรดจะมีฟันหน้ากรามล่าง 4 ซี่
ขนาดของกระซู่ ส่วนสูงที่ไหล่ 1.0 –1.4 เมตร ขนาดตัว 2.4 – 2.6 เมตร หางยาว 0.65 เมตร น้ำหนักตัว 900 – 1,000 กิโลกรัม

เขตการกระจายพันธุ์ของกระซู่ แต่เดิมค่อนข้างกว้างกว่าแรดชนิดอื่น ๆ มักพบตั้งแต่แถบรัฐอัสสัมของอินเดีย บังคลาเทศ ประเทศในแถบเอเวียตะวันออกเฉียงใต้ สุมาตรา และบอร์เนียว แต่ไม่มีพบในชวาปัจจุบันประชากรของกระซู่ในป่าธรรมชาติมีเหลืออยู่น้อยมาก และกระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่หางไกลกันมาก แห่งสำคัญที่ยังมีกระซู่อยู่ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สุมาตราและบอร์เนียว คาดว่ามีกระซู่อยู่รวมกันไม่ถึง 200 ตัว นอกจากนี้คาดว่ายังมีกระซู่อยู่ในประเทศเมียนม่าร์ และลาวบ้าง
ประเทศไทยคาดว่าจะยังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุธยาน แห่งชาตื น้ำหนาว จังหวัดชัยภูมและเพชรบูรณ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดระนองและสุราษฎร์ธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นตามแนวพรมแดนไทย – มาเลเซีย และเชื่อว่าจะเป็นหลักฐานที่ยังมีกระซู่เหลืออยู่ได้มากที่สุด ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นทางการว่ายังคงมีกระซู่เหลืออยู่แน่นอนหรือไม่

ปกติแล้วกระซู่ชอบที่จะอาศัยอยู่ตามป่าลุ่มและรกทึบ ไม่ชอบอยู่ที่โล่งหรือป่าโปร่งโดยไม่จำเป็นแต่ภาวะการณี่ถูกรบกวนจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ บีบให้กระซู่ต้องหลีกหนีขึ้นไปอยู่ตามป่าเขาสูงถึงระดับประมาณ 2,000 เมตรได้ แต่ครั้นถึงฤดูฝนมักจะกลับลงมาหากินตามป่าล่าง นิสัยของกระซู่ชอบอาศัยอยู่ตามลำพังคล้ายแรด ตัวเมียมักจะมีถิ่นที่อาศัยและอาณาเขตถือครองที่มีขนาดใหญ่ มีขอบเขตแน่นอน ส่วนตัวผู้ชอบย้ายที่อยู่เที่ยวหากินไปตามลำน้ำ โป่ง หรือตามด่านเก่า ๆ ไปเรื่อย ๆ นาน ๆ จึงย้อยกลับทางเดิม ชอบนอน แช่ปลักโคลนและชอบใช้ นอหน้าขวิดแทงตามขอบปลัก จึงสังเกตุได้ง่ายว่าเป็นปลักของกระซู่หรือสัตว์ชนิดอื่น เช่นหมูป่า สายตาของกระซู่นั้นไม่ดีจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนในระยะใกล้ ๆ แต่จมูกและหูไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก เมื่อถูกรบกวนมักจะวิ่งหนีและอาจขู่เสียงสั้น ๆ ไปด้วย แต่หากจวนตัวหนีไม่ทัน กระซู่จะวิ่งไล่ขวิดด้วยนอหน้าอย่างดุร้ายทันที
ชอบออกหากินในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ยอดไม้ เถาเครือต่าง ๆ รวมทั้งลูกไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นป่าแต่ไม่ชอบกินหญ้าเช่นเดียวกับแรด เคยมีผู้พบว่า กระซู่ใช้นอหน้าขวิดฉีกเปลือกไม้เพื่อกินไส้ในได้ด้วย
ฤดูผสมพันธุ์ของกระซู่พบอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ระยะตั้งท้องประมาณ 7 – 8 เดือน ซึ่งสั้นกว่าระยะตั้งท้องของแรดชนิดอื่น ๆ ซึ่งนานประมาณ 16 เดือน ทั้งนี้สันนิษฐานว่า ระยะตั้งท้องของสัตว์จะแปรตามขนาดของสัตว์ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตัวของกระซู่นั้นจะน้อยกว่าแรดชนิดอื่นอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ระยะตั้งท้องจึงสั้นกว่าแรดชนิดอื่นอยู่ครึ่งหนึ่งอีกด้วย ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดจะมีขนยาวทั้งตัว น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม กระซู่จะมีอายุยืนยาวประมาณ 33 ปี


จากความเชื่อที่ว่า นอและส่วนต่าง ๆ ของกระซู่เช่น เลือดหนังของกระซู่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงชั้นเลิศ และรักษาโรคต่าง ๆ ได้ครอบจักรวาล อีกทั้งยังมีราคาสูงมาก ราคานอแรดไทยต่อกิโลกรัมประมาณ 120,000 บาท ทำให้กระซู่กลายถูกล่าอยู่เนือง ๆ ประกอบกับนิสัยและจำนวนของกระซู่ ซึ่งมีน้อยมาก และกระจัดกระจายกันมาก จนไม่มีโอกาสจับคู่ผสมพันธุ์ หรือแลกเปลี่ยนพันธุกรรม เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์กระซู่ตามธรรมชาติได้

4.นกแต้วแล้วทองดำ




: Pitta gurneyi Hume


: Pittidae


ลักษณะสีสันของเพศผู้ และเพศเมียจะแตกต่างกัน โดยนกกระแต้วแล้วเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าสีสดใส ตัดกับใบหน้าและหน้าผาก ซึ่งมีสีดำสนิท คอสีขาวครีมอกส่วน
บนเป็นแถบสีเหลืองสด อกส่วนล่างจะมีสีดำเป็นมัน ท้องและก้นสีดำ สีข้างและข้างลำตัวเป็นสีเหลือง และมีลายสีดำสั้นๆ คาดเป็นบั้งๆ ตลอดแนวลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง ปีกเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าลำตัวเล็กน้อย หางและขนคลุมทางด้านบนเป็นสีฟ้าอมเขียวราวกับสีของเครื่องะดับประเภทหยก กลางหางเป็นสีดำเรียบๆ ขาเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปากเป็นสีดำ ส่วนนกแต้วแล้วเพศเมีย ลักษณะเด่นก็คือ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหัว ตา หลังตา และขนคลุมหูสีดำ คอสีเหลืองครีม บริเวณส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ คาดตามขวางของ ลำตัว ส่วนหาง ด้านบนของลำตัว ปีกและส่วนอื่นๆ คล้ายเพศผู้ แต่เพศเมียแต่เพศเมียจะมีขนาดย่อมกว่าเพศผู้เล็กน้อยโดยทั่วไปนกกระแต้วแล้ว ท้อวดำมีขนาดความยาวประมาณ 22 ซ.ม. เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้อนป้อม หัวโต ขาแข็งแรง หางสั้น เวลาหากินชอบกระโดอยู่ตามพื้นป่า และ ส่งเสียงร้องไปด้วย


นกกระแต้วแล้วท้องดำ เป็นนกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7-12 เหนือ พบได้ทางตอนไต้สุดของพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี ในประเทศไทยเคยพบบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดตรัง


นกกระแต้วแล้วท้องดำชอบ อาศัยอยู่ตามป่าซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ชอบอยู่ตามลำพังไม่รวมกลุ่ม เดินและกระโดดหากินอยู่บนพื้นดินการทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน นกกระแต้วแล้วท้องดำล้วนสร้างรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมโดยรังสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1-2.5 เมตร ลักษณะของตัวรัง มีรูปร่างกลมป้านคล้ายลูกบอลขนาดย่อมๆมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่ง เพียงด้านเดียว ตัวรังสร้างจากเศษใบไม้แห้งและกิ่งไม้เล็กๆ โดยภายในรังบุด้วยรากไม้เล็กๆ หรือเส้นใยนุ่มๆ จากใบไม้ ส่วนภายนอกมีหนามจากต้นไม้ที่มันทำรังเป็นเกราะคุ้มภัยอีกชั้นหนึ่ง ต้นไม้ที่พบว่านกแต้วแล้วท้องดำใช้ทำรัง ได้แก่ ต้นระกำ กอหวาย หรือต้นชิง ซึ่งขึ้นริมลำธารเล็กๆ ทำให้เป็นการสะดวกที่พ่อแม่นกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูก การวางไข่ของนกแต้วแล้วท้องดำวางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 ฟอง ไข่มีละกษณะสีขาวนวล แต้มด้วยจุดสีน้ำตาลเล็กๆ โดยทั่วไปนกแต้วแล้วท้องดำจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึง กรกฎาคม ระยะของการกกไข่ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่าง 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว พ่อแม่นกจะทำลายเปลือกไข่โดยกินเสียทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู เพียงหนึ่งสัปดาห์ลูกนกเริ่มมีขนเป็นเส้นกลมๆ สีเทาดำอยู่ทั่วทั้งตัว เมื่ออายุได้ 14 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว จากการศึกษาพบว่าลูกนกจะออกจากรังเมื่ออายุประมาณ 15-16 วัน
อาหารของนกกระแต้วแล้วท้องดำ ได้แก่ ไส้เดือนตัวอ่อนของแมลง แมลงต่างๆ หอยทาก กบ ปลวก เป็นต้น นกแต้วแล้วท้องดำมีอุปนิสัยชอบทำรังใกล้ลำธารที่มีดินอ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาอาหารและอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณที่ดอน นกแต้วท้องดำจะกระโดดอย่างคล่องแคล่วไปตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหรือพริก ใบไม้เพื่อหาอาหาร หรือใช้ปากขุดเพื่อหาไส้เดือน โดยจิกคาบเหยื่อใหม่พร้อมเหยื่อเก่าไว้ในปากจนกระทั่งเต็มปาก จึงจะนำกลับมาป้อนให้ลูกont>


เนื่องจากนกแต้วแล้ว ท้องดำเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นจึงทำให้นักนิยมเลี้ยงนกอยากได้ไว้มาครอบครอง และทำให้ราคานกแต้วแล้วท้องดำพุ่งสูงขึ้น ยิ่งราคาแพงก็ยิ่งมีผู้เสาะแสวงหามาไว้ครอบครอง เพราะว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เพราะว่าระบบนิเวศของนกแต้วแล้วท้องดำ เป็นป่าดงดิบต่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เพราะสภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้เกิดการแผ้วถางยึดถือครอบครอง ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเกิดขึ้นอย่างกว้าขวางนอกจากนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน หรือพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองของมนุษย์ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการทำให้นกอยู่ในภาวะล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็มีศัตรูในธรรมชาติ เช่น งู หนู หรือสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ

5.กูปรี



: โครไพร

: Bos sauveli

: Artiodactla


กรูปรีเป็นสัตว์จำพวกวัวป่าที่ค้นพบใหม่ล่าสุดของโลกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี้เองโดยศาสตร์ตราจารย์ Achille Urbain อดีตผู้อำนวยการสวนสัตว์กรุงปารีส ( Paris Vincennes Zoo ) ประเทศฝรั่งเศษ เป็นบุคคลแรกที่
ได้ทำการศึกษาวัวป่าชนิดนี้อย่างเป็นทางการ เริ่มต้นจากได้รับหัววัวสตั๊ฟที่มีเขาลักษณะประหลาดไม่เหมือนกับเขาวัวทั่ว ๆ ไป จากสัตวแพทย์ ดร. M.Sauvel ที่ได้หัวสัตว์นี้จากทางภาคเหนือของกัมพูชา ต่อมาได้รับลูกวัวตัวผู้ที่มีเขลักษณะประหลาดเหมือนกัน 1 ตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจับได้จากป่า Tchep ทางภาคเหนือของกัมพูชา จึงได้ทำการส่งไปเลี้ยงดูและทำการศึกษาที่สวนสัตว์หรุงปารีส ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 อีก 3 ปีต่อมา ลูกวัวตัวนี้ได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะโตเต็มวัย ทำให้การศึกษาและข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับวัวเขาประหลาดนั้นมีไม่มากนัก
กูปรีหรือ " Kouprey " เป็นชื่อเรียกในภาษาเขมรที่เรียกลูกวัวป่าของศาสตราจารย์ Urbain ส่วนวัวป่าตัวโต ๆ สีเข้มคล้ำ คนเขมรส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า Kouproh ซึ่งน่าจะเรียกเพี้ยนไปเป็นภาษาไทยว่า โครไพร หมายความว่า วัวป่า ส่วนคนลาวเรียกเรียกกรูปรีว่า วัวบา


ลักษณะรูปร่างของกรูปรี มีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบาง ๆ ไม่โหนกหนาอย่างหนอกหลังของกระทิง มีเหนียงคอเป็นแผ่นหลังห้อยยานอยู่ใต้คอ คล้ายวัวบ้านพันธุ์เซบูของอินเดียแต่จะห้อยยาวมากกว่าโดยเฉพาะกรูปรีตัวผู้มีอายุมาก ๆ เหนียงคอจะห้อยยาวเกือบติดพื้นดิน ใช้แกว่งโบกไปมาช่วยระบายความร้อนได้เช่นเดียวกับหูช้าง ดั้งจมูกบานใหญ่มีรอยเป็นบั้ง ๆ ตามขวางชัดเจน รูจมูกกว้างเป็นรูปเลื่อยวงเดือน ใบหูแคบสั้น ไม่มีสันหระบังหน้าหน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง ใบหน้าของกรูปรีจึงด฿เรียบแบบวัวบ้าน หางยาว ปลายหางมีพู่ขนดกหนา สีขนตามตัวส่วนมากเป็นสีเทาในกรูปรีตัวเมีย และเป็นสีดำในตัวผู้ ส่วนลูก
อายุน้อย ๆสีขนตามตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนคล้ายลูกวัวแดง เมื่ออายุมากขึ้น อายุประมาณ 4 - 5 เดือน สีขนตามตัวของตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขี้เถ้า ส่วนตัวผู้สีจะดำคล้ำขึ้นตามอายุ
ขนาดของของกรูปรี โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้จะใหญ่และหนักกว่าตัวเมียมาก ขนาดตัวพอ ๆ กับกระทิง แต่สูงใหญ่กว่าวัวแดง ความยาวของช่วงลำตัวถึงหัว 2.10 - 2.22 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.71 - 1.90 เมตร หางยาว 1 - 1.1 เมตร ถือได้ว่าเป็นวัวป่าที่หางยาวที่สุดของไทย น้ำหนักตัว 700 - 900 กิโลกรัม

เขตการกระจายพันธุ์ของกรูปรี พบอยู่ในแถบภาคใต้ของลาวภาคเนือและภาคตะวันตกของกัมพูชาภาคตะวันตกของเวียดนาม และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา
ในประเทศไทยเคยมีกูปรีอาศัยอยู่ตามป่าแถบเทือกเขาพนมดงรักบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนซึ่งติดต่อกับกัมพูชา ต่อมาได้ลดน้อยลงจนมีรายงานการพบกรูปรีอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย จำนวน 6 ตัว ในปี พ.ศ. 2491 ต่อมาก็ได้มารายงานการพบเห็นตามคำบอกเล่าของพรานป่าพื้นบ้าน คาดว่ากรูปรีจะเป็นกรูปรีที่ย้ายถิ่นไปตามชายแดนไทย - กัมพูชา

พฤติกรรมความเป็นอยู่ของกรูปรีส่วนใหญ่คล้ายกับพวกสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไป คื
อชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ขนาดของฝูงกรูปรีในอดีตมีถึง 30-40 ตัว มีตัวเมียอวุโสและอายุมากที่สุดเป็นผู้นำฝูงปกติชอบหากินตามป่าโปร่งหรือป่าโคกที่มีทุ่งหญ้าแล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ไม่ค่อนอยู่ตามป่าดิบทึบหรือป่าเขาสูง ๆ ชอบกินหญ้า ต่างๆ เป็นอาหารหลักมากกว่าใบไม้
ฤดูผสมพันธุ์ของกรูปรีเท่าที่ทราบอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ 9 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกกรูปรีแรกเกิดจะมีสีขนเป็นสีน้ำตาลคล้ายลูกวัวแดง จนอายุประมาณ 4-5 เดือน สีขนจะเริ่มเปลี่ยนไป ขนตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีดำขี้เถ้า ตัวผู้ขนจะเริ่มขั้นเป็นสีดำที่บริเวณคอ ไหล่ และสะโพกก่อน

ส่วนบริเวณท้องจะเป็นสีขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะเป็นสีดำทั้งตัว เปรียบเทียบกับสัตว์จำพวกวัวป่าด้วยกัน สถานการณ์ความอยู่รอดของกรูปรีอยู่ในขั้นวิกฤติที่สุดมราสวาเหตุสำคัญคือการถูกล่า คนพื้นเมืองชอบล่ากรีเพราะเนื้ออร่อย ตัวใหญ่ หนังและเขาราคาดี และยังเชื่อว่ากระดูกที่หนอกหลังของกรูปรี และกระทิง นำมาบดละเอียดผสมกับเหล้ากินแล้วร่างกายแข็งแรง และยังช่วยให้ร่างกายอบอุ่นอีกด้วย
ในประเทศไทย นับจากรายงานว่า กรูปรีฝูงสุดท้าย
จำนวน 6 ตัว ที่ป่าดงอีจาน จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกฆ่าตายหมดในปี พ.ศ. 2491 นับจากนั้นมา จึงมีรายงานจากพรานพื้นบ้านว่า พบเห็นกรูปรีอพยพหนีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน เข้ามาในแถบเขาพนมดงรัก อำเภอขุขันธุ์ จังหวัดศรีษะเกษ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2525 จำนวน 5-6 ตัว แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแน่ขัดได้ คาดว่ากรูปรีฝูงนั้นได้หนีกลับไปฝั่งกัมพูชาในช่วงฤดูแล้ง และไม่ได้กลับมาให้เห็นอีกเลย

6.กวางผา



: Naemorhedus caudats

: Artiodactla

กวางผาถูกค้นพบครั้งแรก ปี พ.ศ.2368 ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาลแต่เดิมมีการจำแนกสัตว์จำพวกกวางผาออกเป็น 2 ชนิด คือกวางผาโกราล ซึ่งเป็นกวางผาชนิดที่รู้จักกันครั้งแรก ขนตามตัวสีเทาแกมเหลือง และมีการกระจายพันธุ์ในแถบไซบีเรีย ใต้ลงมาถึงภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือ กวางผาแดง เป็นกวางผาชนิดที่มีขนตามตัวสีแดงสด และมีถิ่นกำเนิดแถบธิเบตลงมาถึงประเทศเมียนมาร์
ปัจจุบันได้มีการตรวจสอบ พิจารณารูปร่างลักษณะและเขตการกระจายพันธุ์ พบว่ากวางผาในบางแหล่งมีความแตกต่างกันเด่นชัด จำแนกได้เป็น 5 ชนิด ไม่รวมเลียงผา คือ กวางผาโกราล หรือกวางผาต้นแบบ เป็นกวางผาในแถบเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศเนปาล ภูฐาน สิกขิม อินเดีย และปากีสถาน กวางผาญี่ปุ่นเป็นกวางผาที่พบบนเกาะออนซู ชิโกกุ และกิวซิว ของญี่ปุ่น กวางผาแดง กวางผาไต้หวัน เป็นกวางผาที่จำแนกออกจากกวางผาญี่ปุ่น มีพบบนเกาะไต้หวัน และชนิดที่ 5 คือ กวางผาจีน เป็นกวางผาที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบตอนเหนือของทวีป เอเชียลงมาถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย

กวางผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแพะในวงศ์ย่อย Caprinae เช่นเดียวกับเลียงผา คือ ไม่มีหนวดเครายาวที่คางอย่างแพะ ลำเขาสั้น ปลายเขาโค้งไปข้างหลัง และมีต่อมเปิดที่กีบนิ้วเท้า รูปร่างคล้ายเลียงผาแต่ขนาดเล็กกว่ามาก ลำคอเรียวเล็ก หางยาวและเขาสั้นกว่า ใบหน้าเว้าเป็นแอ่งไม่แบนราบอย่างเลียงผา ต่อมเปิดระหว่างตากับจมูกเป็นรูเล็กมาก กระดูกดั้งจมูกยื่นออกแยกจากส่วนกระโหลกศีรษะชิ้นหน้าติดอยู่แต่ เฉพาะส่วนฐานกระดูกจมูก ส่วนกระดูกดั้งจมูกของเลียงผาจะยื่นออกเฉพาะส่วนปลาย ท่อนโคนจมูกเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกับกระดูกกระโหลกศีรษะ
ลักษณะรูปร่างของกวางผาดูคล้ายคลึงกับเลียง ผาย่อขนาดเล็กลงเกือบเท่าตัว สีขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเทาไม่ดำอย่างเลียงผา ขนตามตัวชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งจะไม่มีพบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้างไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจนถัดต่อมา บริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบางๆสีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและอกแผ่นสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลาย จางๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลมปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปด้านหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวงๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างอย่างเขาของตัวผู้
ขนาดของกวางผาไทย ขนาดตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร หางยาว 7-20 เซนติเมตร ใบหูยาว 10-14 เซนติเมตร ความสูงที่ไหล่ 50-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22-35 กิโลกรัม ขนาดของเขาแต่ละข้างมักยาวไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยความยาวของเขาแต่ละข้างประมาณ 13 เซนติเมตร ขนาดวัดรอบโคนเขาประมาณ 7 เซนติเมตร

กวางผาพันธุ์ ไทยเป็นชนิดเดียวกับกวางผาจีน มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบประเทศจีนแพร่กระจายออกไปในเกาหลี แมนจูเรีย และแถบอัสซูริ (Ussuri) ของประเทศรัสเซีย ใต้ลงมาในแถบภาคตะวันออกของประเทศเมียนมาร์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ปัจจุบันมีรายงานแหล่งที่พบกวางผาในประเทศไทยอยู่ใน บริเวณเทือกเขาต้นน้ำปิง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยและแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่และตาก และเทือกเขาบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา แม่แสะ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว


กวางผามีสายตาดีมาก การใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยการมองดูมากกว่าใช้การดมกลิ่นหรือการฟังเสียงอย่างสัตว์กินพืชทั่วๆไป เวลา พบเห็นสิ่งแปลกปลอมหรือสงสัยมักจะแสดงท่าขยับใบหูไปมา ยกขาหน้าโขกกับพื้นและส่งเสียงพ่นออกมาทางจมูก แต่ถ้าตกใจจะกระโดดตัวลอยวิ่งหนีและส่งเสียงร้องแหลมสั้นๆเป็นระยะๆถึงแม้กวางผาจะ ชอบอาศัยอยู่ตามหน้าผาสูงชัน แต่พบว่ากวางผาสามารถว่ายน้ำได้ดีด้วย
ฤดูผสมพันธุ์ของกวางผาอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว อายุวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 2-3 ปี อายุยืนประมาณ 8-10 ปี


เนื่องจากสภาพถิ่นที่อยู่ อาศัยของกวางผาเป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์ทั่วๆไปไม่สามารถอาศัยอยู่ได้แต่แหล่งที่อยู่มีอยู่จำกัดอยู่ตาม เขาสูงเป็นบางแห่งของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ประกอบกับมีนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงและมีอาณาเขตครอบครองที่แน่นอน ทำให้ถูกพรานชาวเขา ตามล่าได้ง่าย โดยดูจากร่องรอยการกินอาหารและกองมูลที่ถ่ายทิ้งไว้ อีกทั้งบริเวณที่เป็นแหล่งที่อยุ่ของกวางผาเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งมีการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยมาโดยตลอด ทำให้กวางผาไม่มีที่อยู่อาศัยต้องหลบหนีไปอยู่แหล่งอื่นและถูกฆ่าตายไปในที่สุด นอกจากนี้ความเชื่อที่ว่าน้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูกที่หักได้เช่นเดียวกับน้ำมัน เลียงผา ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาน้ำมันอีกสาเหตุหนึ่งด้วย
ปัจจุบันกรมป่าไม้สามารถเพาะขยายพันธุ์กวางผาไทยได้สำเร็จ แต่เนื่องจากมีพ่อ-แม่พันธุ์เพียงคู่เดียว สถานการณ์ความอยู่รอดของกวางผาไทย จึงยังอยู่ในขั้นน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง


7.เก้งหม้อ



: เก้งดำ หรือ เก้งดง

: Muntiacus feai

: Cervidae

เก้งหม้อค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดย Leonardo Fea เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานเมือง เจนัว ประเทศอิตาลี เป็นซากเก้งที่ได้จากแถบ Thagata Juva ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเทือกเขา Mulaiyit ในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า จึงได้ส่งตัวอย่างเก้งนี้ให้นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน จากผลการตรวจสอบพบว่ามีลักษณะต่างจากเก้งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Cervurus feae Thomas and Doria 1989
ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 Healtenorht ได้มีการตรวจสอบพบว่าชื่อสกุล Cerverus ตั้งชื่อซ้ำกับสกุล Muntiacus Rafinesque 1815 ซึ่งได้แพร่หลายกันมาก่อน จึงเสนอให้เปลี่ยนมาเป็น Muntiacus feae ( Thomas and Diria 1989 )
เก้งหม้อจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางแท้ เนื่องจากมีกีบเท้าเป็นคู่ เท่าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว กระเพราะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจากส่วนกระเพาะพักที่ย่อยไม่ละเอียด ขึ้นมาเคี้ยวใช่องปากให้ละเอียดได้อีก ลักษณะเขาเก้งหม้อและเขาชนิดอื่น ต่างจากกวางส่วนใหญ่ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Cervus จึงถูกแยกออกไปรวมไว้ในสกุล Muntiacus โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะ คือ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเล็กสั้น แต่ฐานเขา ( Pedicel ) ยาวมาก ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน กระดูกดั้งจมูกยกเป็นสันสูง จมูกของเก้งจึงเห็นนูนเป็นสันขึ้นมา ไม่เรียบอย่างจมูกกวางทั่ว ๆ ไป

รูปร่างลักษณะทั่วไปของเก้งหม้อคล้ายกับฟานหรือเก้งธรรมดา ( Common Barking Deer , Muntiacus muntjak ) มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน ขนาดตามตัวสั้นเกรียนและละเอียดนุ่ม ดั้งจมูกเป็นสันยาว มีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ขอบแอ่งเป็นสันยกสูงอยู่บริเวณหัวตา ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน ใช้เป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันตัวเองได้ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเขาสั้น แต่ฐานยาวมากและมีขนหุ้มเต็มด้วย ช่วงโคนของฐานเขาแต่ละข้างจะยาวทอดเห็นเป็นรูปสันนูนลงไปตามความยาวของใบหน้า
ลักษณะเด่นเฉพาะเก้งหม้อ รูปร่างของเขาเก้งฟานคือ เป็นเขาสั้น ๆ มี 2 กิ่ง กิ่งหน้าสั้น กึ่งหลังยาว แต่โดยเฉลี่ยแล้วเขามีขนาดเล็กและสั้นกว่า ลักษณะเขามีกิ่งหน้าหรือกิ่งรับหมาแตกไปข้างหน้าเป็นกิ่งสั่น ๆ ดูคล้ายกับเป็นกิ่งแขนงของลำเขา ซึ่งยาวกว่าและแตกไปด้านหลัง บริเวณหน้าผากระหว่างสันของของฐานขาทั้งคู่จะมีพู่ขนเป็นกระจุยยาวสีดำตล้ำ นอกจากนี้สีขนตามตัว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญเฉพาะของเก้งหม้อและแตกต่างไปจากเก้งฟานเด่นชัด
ขนาดของเก้งหม้อ ขนาดตัวยาวประมาณ 88 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ช่วงขาหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22 กิโลกรัม


ศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของเก้งหม้ออยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอบต่อพรมแดนไทย – เมียนม่าร์ เขตการกระจายพันธุ์มีอยู่ในแถบภาคใต้ของเมียนม่าร์ บริเวณเมืองหวาย เมย อัมเฮิร์สท์ และท่าท่อน ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแถวภาคตะวันตก ตั้งแต่เขตจังหวัดตาก ใต้ลงมาถึงจังหวัดราชบุรีและต่อลงมาถึงเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีแถบแหลมมาลายู


นิสัยของเก้งบ้านชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นรกทึบตามเขาสูง ไม่ค่อยชอบ อยู่ป่าโปร่งหรือทุ่งโล่งอย่างเก้งฟาน ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า “ เก้งดง “ มักพบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว ชอบออกหากินตามทุ่งโล่งในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ต่าง ๆ หน่อไม้ หญ้าและลูกไม้ตามพื้นป่า พฤติกรรมความอยู่นอกจากนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะคล้ายคลึงกันกับฟาน ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว


เนื่องจากเก้งเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินในตอนกลางวัน เนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของพวกพรานป่า เก้งหม้อจึงถูกล่าได้ง่าย แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของเก้งลดน้อยลงอย่างรวดเร็วคือ เก้งหม้อมีขอบเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ตามป่าดิบทึบตามเขาสูง ไม่สามารถปรับตัวอาศัยถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือการเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ ทำให้จำนวนเก้งหม้อน้อยลงและสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายพื้นที่ แตกต่างจากเก้งฟาน ซึ่งสามารถมีชีวิตรอดแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง

8. ควายป่า



: มหิงสา

: Bubalus bubalis Linnaeus

: Bovidae
ควายป่าจัดเป็นสัตว์จำพวกกีบคู่ ( Even - toed Ungulate ) จำพวกเดียวกันกับวัวป่า เท้าทั้ง 4ข้าง มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่ข้องละ 2 นิ้ว เล็บที่ปลายนิ้วพัฒนามาเป็นกีบนิ้วแข็ง ( hoff ) ลักษณะเป็นกีบเท้าคู่ขนานกัน นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 5 ลดขนาดลงเหลือกีบกิ่งขนาด เล็ก ๆบริเวณข้อเท้าเหนือกีบนิ้ว ส่วนนิ้วโป้งหรือนิ้วที่ 1 หดหายไป จัดเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มีการพัฒนาระบบย่อยอาหารแบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ฟันหน้าของกรามบนเปลี่ยนเป็นสันฟันคมสำหรับตัดฉีกพืชใบยาวจำพวกหญ้า กระเพาะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจะส่วนของกระเพาะพักขึ้นมาเคี้ยวให้ละเอียดได้ใหม่ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกหญ้าที่เป็นเส้นใยที่ย่อยยาก ๆ ควาย ( Buffalo ) ในสกุล Bubalus มีเพียงชนิดเดียวและถือว่าเป็นควายแท้ คือควายป่า ( Bubalus bubalis ) ซึ่งมีเขตกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียและมีนิสยชอบน้ำมากจึงได้ชื่อเรียกว่าควายน้ำเอเชีย ( Asian Waterbuffalo )


รูปร่างลักษณะของควายป่ากับควายบ้านมีลักษณะคล้ายกันมาก เนื่องจากเป็นควายชนิดเดียวกัน แตกต่างกันที่สัดส่วนซึ่งใหญ่กว่ากันทุกสัดส่วนอย่างชัดเจน ลักษณะรูปร่างของควาย ค่อนข้างเตี้ยล่ำสัน สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีเทาหรือน้ำตาลดำ เส้นขนหยาบห่าง ช่วงคอใหญ่และหนา บริเวณลำคอมีแถบลายขนาดใหญ่สีขาวเป็นรูปตัว V หน้าผากแคบ ท้องไม่ป่องพลุ้ยอย่างควายบ้าน หางสั้น ความยาวเพียงแค่ข้อเข่าหลัง ปลายหางเป็นพู่ขนยาวใบหูแหลมมีขนขึ้นเต็มขาทั้ง 4 ข้าง
ขนาดของควายป่าไทย ช่วงลำตัวและหัวยาว 2.4-2.8 เมตร หางยาว 0.6-0.85 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ
800-1,200 กิโลกรัม ส่วนขนาดควายบ้าน ขนาดตัวเฉลี่ย 1.3-1.5 เมตร ความสูงเฉลี่ย 1.2-1.4 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 360-440 กิโลกรัม


เขตการกระจายพันธุ์ของควายป่ามีอยู่แถบประเทศอินเดีย เมียนมาร์และกลุ่มประเทศอินโดจีน แต่ไม่กระจายลงมาทางแหลมมาลายู ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของควายป่า อีกทั้งยังพบว่าควายป่าในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าควายป่าในแหล่งอื่น ๆ ปัจจุบันคาดว่ายังมีควายป่าแท้ ๆ หลงเหลืออยู่ในประเทศเนปาล รัฐอัสสัมและโอริสสาของอินเดีย
ในประเทศไทย แต่เดิมเคยมีควายป่าอยู่ตามป่าทุ้งโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ แต่ปัจจุบันถูกล่าหมดไป ยังคงเหลืออยุ่เพียงแหล่งเดียวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทยธานี ประมาณ 40 ตัว ( 2536 )


พฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ไปของควายป่า ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่ที่มีตัวเมียและตัวผู้เล็ก ๆ ส่วนตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มักชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังเป็นควายโทน ลักษณะรูปแบบสังคมคล้ายกับพวกวัวป่า แหล่งทีอยู่สำคัญได้แก่ ป่าทุ่งหรือป่าโปร่งตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงสำหรับลงแช่ปลัก ปกติไม่ชอบอยู่ตามป่าเขาสูง ๆ ที่หาปลักโคนได้ยาก หรือตามป่าดิบรกทืบ เพาะมีเขายาวใหญ่เกะกะไม่สะดวกในการบุกรุก สายตาไม่ดี แต่จมูกและหูมีความไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก

ฤดูผสมพันธุ์ของควายป่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม-พฤษจิกายน ในช่วงฤดูนี้ ปกติแล้วควายป่าตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 20-21 วัน ต่อครั้ง ระยะตั้งท้องของควายป่าประมาณ 310 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ภายหลังจากออกลูกประมาณ 40 วัน แมควายป่าจะสามารถผสมพันธุ์ตั้งท้องได้ใหมิอีก แต่โดยทั่วไปแล้วแม่จะเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยไม่ยอมผสมพันธุ์ใหม่อายุเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี


สาเหตุที่ทำให้ควายป่าในธรรมชาติ ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายถิ่นกำเนิดเดิม ได้แก่การล่าเพื่อเอาเนื้อ หนังและเขา เป็นอาหารและเครื่องประดับต่างๆ ทั้งนี้เนื่องมีนิสัยที่ๆไม่ค่อยกลัวหรือหลบคน และการแช่ปลักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่เดิมเป็นประ
จำ จึงถูกล่าได้ง่าย อีกทั้งป่าโปร่งหรือป่าทุ่งส่วนใหญ่ถูกทำลายเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่เกษตรกรรม ทำให้ควายป่ามีอยู่ถูกขับไล่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการถ่ายทอยพันธุกรรมของสัตว์ที่อยู่เป็นฝูงอย่างยิ่ง นอกจากนี้การลูกรุกถิ่นที่อยู่ของควายผป่า อาจที่ให้ควายป่าผสมพันธุ์กับควายบ้านที่คนเอามาเลี้ยง ทำให้พันธุกรรมของควายป่าด้วยลง และอาจติดโรคระบาดจากควายบ้านได้ด้วย

9.เนื้อสมัน



: สมัน

: Cervus schomburgki

: Cervidae



สมัน ถือได้ว่าเป็นกวางพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของไทย เพราะพบเพียงแห่งเดียวในโลก เฉพาะในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นกวางที่มีรูปร่างและเขาสวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ได้ถูกล่าสิ้นพันธุ์ไปจากประเทศไทยและโลก ในปี พ.ศ. 2481 หรือเมือประมาณ 1 ชั่วคนมานี่เอง ทิ้งไว้แต่เรื่องราวในอดีตและเขาที่สวยงาม แต่ก็มีเหลือเขาอยู่ในประเทศไทยน้อยมาก เนื่องจากถูกชาวต่างชาติ ที่รู้ถึงคุณค่าของสัตว์ที่หามาไม่ได้อีกแล้วกว้านซื้อไปเก็บสะสมใว้ใน พิพิธภัณฑ์ต่างประเทศเป็นจำนวนมากนอกจากนั้นส่วนหนึ่งได้ถูกคนไทยทำลายไปโดย รู้เท่าไม่ถึงการ เช่น เอาเขามาทำเป็นด้ามมีด หรือเอาไปบด ต้มเคี้ยวเข้าเครื่องยาจีน เป็นต้น
การจำแนกและการตั้งชื่อสมัน
ของศาสตราจารย์ไบรท์ ตั้งชื่อตามวกุล Rucervus ขแงกว่าพรุ ( Swamp Deer , Rucervus duvauceli ) ของอินเดีย ซึ่งมีชื่อตามภาษาพื้นเมืองว่า บาราซิงห์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก



สมันเป็นสัตว์จำพวกกวางที่มีกีบเท้าเป็นคู่ เท้าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว พัฒนารูปร่างเป็นกีบนิ้วเท้าแข็งขนาดเท่า ๆ กัน 2 กีบ กระเพาะอาหารพัฒนาไปมี 4 ตอน รวมทั้งกระเพาะพัก เพื่อย่อยอาหารจำพวกพืชโดยเฉพาะ มีต่อมน้ำตาเป็นแอ่งที่หัวตา ไม่มีถุงน้ำดี และที่สำคัญคือ มีเขาบนหัวที่เรียกว่าเขากวาง เฉพาะในตัวผู้
เขากวางหรือ Antlers เป็นลักษณะเขาที่มีเฉพาะในสัตว์จำพวกกวาง เป็นเขาต้นมี 2 ข้างเป็นคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ลำเขามีการแตกกิ่งก้าน จำนวนกิ่งก้านและรูปทรงของเขาขึ้นกับชนิดกวาง มีการผลัดเขาเป็นประจำทุกปี
เขาของสมัน เป็นลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างไปจากเขากวางทั่ว ๆ ไป กิ่งเขาหน้า ( Brow tine ) หรือกิ่งรับหมายาวโค้งและงอน ทอดลากมาข้างหน้าทำมุมยกประมาณ 60 องศากับใบหน้า ขนาดของกิ่งรับหมาโดยเฉลี่ยแล้วยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ปลายกิ่งรับหมามักจะแตกเป็นง่ามเขา 2 แขนง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยจะพบเห็นในกวางชนิดอื่น


แหล่งที่อยู่อาศัยของสมันเคยมีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภาคกลางของประเทศ มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบกรุงเทพและหัวเมืองโดยรอบ ขอบเขตการกระจายพันธุ์มีตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นเหนือไปจนถึงจังหวัดสุโขทัย ด้านตะวันออกไปจนถึงนครนายกและฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตกกระจายไปจนถึงจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า สมันน่าจะเคยมีในประเทศลาวและภาคใต้ของจีนด้วย แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดได้ จึงกล่าวได้ว่า สมันเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก



ปกติแล้วสมันชอบอาศัยอยู่ตามป่าทุ่ง ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ ไม่ชอบอาศัยอยู่ตามป่ารกทึบหรือที่ป่าโคกอย่างกวางผาหรือละมั่ง เนื่องจากเกะกะเขาบนหัว ซึ่งกิ่งรับหมายาวและทำมุมแหลมกับใบหน้า และกิ่งก้านเขาซึ่งบานเป็นสุ่ม ทำให้สมันไม่สามารถมุดรกได้ เพราะกิ่งก้านเขาจะไปขัดหรือเกี่ยวพันกับกิ่งไม้หรือเถาวัลย์ได้ มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงครอบครัว เล็ก ๆ ประกอบด้วยต้วผู้ 1 ตัวตัวเมียและลูก 2-3 ตัวออกหากินตามท้องทุ่งโล่งริมน้ำในช่วงเย็นค่ำจนถึงเข้า ตอนกลางวันมักหลบแดดและซ่อนตัวอยู่ตามป่าละเมาะหรือพงหญ้าสูง ๆ และมักอาศัยรวมถิ่นปะปนกับเนื้อทรายได้เสมอ ๆ
นิสัยของสมันที่ได้ศึกษาจากสวนสัตว์ต่างประเทศพบว่า ค่อนข้างจะคุ้นคนได้ง่าย อากับกิริยาต่าง ๆ เช่นการยกหัวและท่วงท่าเดินดูสง่า คึกคนอง ชอบปะลองท้าทายกับกวางชนิดอื่น ที่ตัวโตกว่า เสียงร้อง
แหลมสั้น ๆ คล้าย ๆ เสียงหวีดหรือเสียงร้องของเด็ก ๆ

สาเหตุการใกล้จะสูญพันธุ์ มาจากการถูกล่าโดยไม่มีการควบคุม และธรรมชาติของสมันในธรรมชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ได้ในทุ่งโล่งตามที่ราบลุ่ม ไม่มีที่หลบซ่อน โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก สมันส่วนใหญ่จะถูกกักอยู่ตมที่ดอนหรือเกาะเล็ก ๆ กลางน้ำ ทำให้สมันถูกฆ่าตายครั้งละมาก ๆ ประกอบกับในยุคนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยได้มีการติดต่อทำการค้ากับต่างประเทศ สินค้าออกที่สำคัญคือข้าวทำให้คนไทยมีการตื่นตัวเรื่องการทำนา จึงมีการบุกพื้นที่ลุ่มภาคกลางเปลี่ยนเป็นไร่นาทั่ว ส่งผลให้สมันไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัยและถูกฆ่าตายจนหมดสิ้นภายในเวลาไม่กี่ปีต่อมา

10.แมวลายหินอ่อน



: Pardofelis marmorata

: Felindae

เสือหรืออืแมวป่าทุกชนิด เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีวิวัฒนาการมาเพื่อเป็นนักล่าเหยี่ออย่างแท้จริงมีเขี้ยวที่มีขนาดใหญ่ยาวและแหลมคม 2 คู่ ใช้กัดสังหารเหยี่อ ส่วนฟันกรามมีลักษณะคมคล้ายใบมีดใช้สำหรับกัดฉีกเนื้อ มีเล็บแหลมคมทุกนิ้ว ครั้นเวลาใช้ต่อสู้หรือล่าเหยี่อเล็บจะกางออกเป็นกรมเล็บได้ทำให้เล็บที่มีความแหลมคมใช้เปป็นอาวุธได้ดีมาก ส่วนเท้าหน้านั้นมี 5 นิ้ว แต่นิ้วโป้งสั้นและแยกสูงกว่าอีก 4 นิ้วคล้ายมือ จึงเหมาะต่อการตะปบคว้าเหยื่อ เท้าหลังมี 4 นิ้วขนาดเท่า ๆ กันใต้ฝ่าเท้าและนิ้วมีขนปกคลุมทั่ว ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและเงียบตามีขนาดใหญ่ ตำแหน่งของตาอยู้ด้านหน้าและใกล้กัน ทำให้การมองภาพมีประสิทธิภาพสูงและการกะระยะแม่นยำ ใบหูกลมมีกล้ามเนื้อสำหรับขยับหูเพื่อปรับทิศทางรับเสียงได้ มีประสิทธิภาพสำหรับฟังเสียงดีมาก


แมวลายหินอ่อนจัดอยู่ในจำพวกเสือเล็ก วงศ์ย่อย Felinae ขนาดของลำตัวโตกว่าแมวบ้านไม่มากนัก และมีลวดลายตามตัวดูเลอะเลื่อนคล้ายลายหินอ่อนขัด จึงเรียกว่าแมวลายหินอ่อน ลักษณะคล้ายเสือเมฆ แตกต่างกันที่ขนาดเล็กกว่ากันมาก หัวกลมลำตัวยาว หางเป็นพวงยาว ใบหุกลม หลังใบหูสีดำมีแต้มจุดสีขาวตรงกลางคล้ายหูแมวดาว ขนตามตัวนุ่มหนาสีน้ำตาลแกมเหลือง
ขนาดของแมวลายหินอ่อนพันธุ์ไทย ขนาดตัว 45 - 53 เซนติเมตร หางยาว 47.5 - 55.0 เซนติเมตร ช่วงข้างหลัง 11.5 - 12.0 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 2 - 5 กิโลกรัม

เขตการกระจายพันธุ์ของแมวลายหินอ่อนมีอยู่ในเฉพาะในทวีปเอเซีย บริเวณตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล สิกขิม แค้นอัสสัมของอินเดีย เมียนม่าร์ ไทย กลุ่มประเทสในอินโดจีน มาเลเซีย สุมาตราและบอร์เนียว ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยมากในทุก ๆ แหล่ง
ในประเทศไทยแหล่งที่อยู่ของแมวลายหินอ่อนพบอยู่ตามป่าดิบแถบเทอกเขาตะนาวศรี และป่าทางภาคใต้ ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยหาได้ยากมาก แหล่งที่ยังคงมีแมวลายหินอ่อนอาศัยอยู่แน่นอนคือ ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

แมวลายหินอ่อนมีความสามารถในการหลบซ่อนพรางตัวตามป่ารกทึบได้เก่ง ทำให้พบเห็นตัวในธรรมาชาติได้ยากเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่อยทราบจำนวนประชากรที่แท้จริงของแมวลายหินอ่อนในแต่ละพื้นที่ปีนต้นไม้เก่ง แต่ปกติแล้วชอบอาศัยหาดกินตามพื้นป่าดิบทึบใกล้แม่น้ำ ไม่ค่อยอยู่บนต้นไม้สูงเป็นประจำอย่างเสือเมฆ ออกหากินในตอนกลางคืน อาหารได้แก่สัตว์เล็ก ๆ ที่พบตามพื้นปผ่าเช่น หนู กระรอก และนกต่าง ๆ
พฤติกรรมการสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการศึกษาแมวลายหินอ่อนในสวนสัตว์ พบว่าค่อนข้างคล้ายกับแมวบ้าน ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ระยะตั้งท้อง 66 - 82 วัน อายุของแมวชนิดนี้จะอายุยืนยาวประมาณ 12 ปี

เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่ใกล้คน ชอบซุกซ่อนพรางตัวอยู่ตามป่าทึบที่ห่างไกลคน เมื่อพบคนจึงแสดงอาการดุร้าย ทำให้ถูกฆ่าตายไป ประกอบกับการเป็นเสือที่มีลักษณะสวยงามหาได้ยากมาก เป็นสิ่งที่ต้องการของสวนสัตว์ต่าง ๆ และพวกชอบเลี้ยงสัตว์ป่าหายาก จึงเป็นสัตว์ที่มีราคาแพงมากชนิดหนึ่ง ทำให้มีการพยายามลักลอบดักจับขายกันเสมอ ๆ นอกจากนี้ป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญถูกกทำลายลงไปมาก ทำให้ประชากรของแมวลายหินอ่อนลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้

11.เลียงผา



: เยือง หรือ กูรำหรือโครำ

: Naemorhedus sumatraensis

: ArtiodactylaCapricornis
sumatraensis

เลียงผาพบครั้งแรกบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียในปีพ.ศ.2342 จึงได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบครั้งแรก โดย J.M. Bechstein จัดรวมไว้สกุลเดียวกับแอนติโลปของอินเดีย คือ Antilope sumatraensis ต่อมาได้มีการจำแนกเลียงผาออกตั้งเป็นสกุลใหม่ คือ Capricornis sumatraensis (Bechstein,1799) โดยพิจารณาจากลักษณะขนาดของเขา กระดูกดั้งจมูก ต่อมเปิดที่อยู่ระหว่างแต่ในปัจจุบันได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ลักษณะที่แตกต่างกันดังกล่าวนั้นไม่เด่นเพียงพอที่จะจำแนกเป็นสกุลใหม่จึงได้จัดรวม เลียงผาเข้าไว้ในสกุลเดียวกับพวกกวางผาซึ่งมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายคลึงกัน คือ Naemorhedus H. Smith, 1827 เนื่องจากเป็นสกุลที่ตั้งขึ้นก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ของเลียงผาที่ถูกต้องจึงใช้เป็น Naemorhedus sumatraensis(Bechstein,1799)
เลียงผาเป็นสัตว์กีบคู่อยู่ร่วมวงศ์เดียวกับวัว ควาย และแพะ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีเขาแบบ”Horns”ทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาเป็นคู่เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นเขากลวง ไม่มีการแตกกิ่งเขาเปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบนแกนเขา ซึ่งเป็นกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศีรษะ ตัวเขาโตขึ้นได้เรื่อยๆ ตามอายุขัยและมีชุดเดียวตลอดชีวิต ไม่มีการผลัดเขาชุดใหม่ทุกปีอย่างพวกกวางโคนเขาจึงมีรอยหยัก เป็นวงๆ รอบเขาแบบ”พาลี” ของเขาวัว เขาควาย จำนวนของวงรอยหยักจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของเจ้าของ
เลียงผามีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่นหลายชื่อ ได้แก่ “เยือง”เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันในแถบจังหวัดเพชรบุรี “โครำหรือกูรำ” เป็นชื่อเรียกขานกันในแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และภาคใต้ ส่วน ”เลียงผา” เดิมใช้เรียกกันในแถบภาคกลาง จังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ปัจจุบันใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกเป็นทางการ



รูปร่างของเลียงผาคล้ายกวางผาและแพะ ลำตัวสั้น ช่วงขายาว ขนตามตัวสีดำ เส้นขนค่อนข้างยาวและหยาบ มีแผงคนคอและสันหลังยาว หัวโต ใบหูใหญ่กางชี้คล้ายหูลา ไม่มีขนเคราที่คางอย่างแพะ คู่เขาบนหัวแต่ละข้างค่อนข้างสั้น ลักษณะเป็นเขากลม โคนขาใหญ่ ปลายเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย ขนาดเขาตัวผู้เท่าที่เคยมีรายงานยาวที่สุดข้างละ 28 เซนติเมตร ส่วนเขาของตัวเมียเล็กและสั้นกว่ามาก
ขนาดตัวของเลียงผา วัดจากหัวถึงโคนหางประมาณ 1.5 เมตร หางยาวประมาณ 0.15เมตร ความสูงวัด ถึงไหล่ประมาณ 85-140 กิโลกรัม


ถิ่นกำเนิดของเลียงผามีพบในแถบแคว้นปัญ จาบและแคชเมียร์ทางภาคเหนือของอินเดียและเขาหิมาลัยต่ำลงมาถึงรัฐอัสสัมทางภาคตะวันออก ภาคใต้ของจีน เมียนมาร์ แถบประเทศ อินโดจีน ไทย มาเลเซีย และสุมาตรา
ในประเทศไทยเคยมีพบอยู่ตามเขาหินปูนสูงชันเกือบทุกภาค ยกเว้นแถบที่ลุ่มภาคกลาง แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของเลียงผายังคงมีเหลืออยู่ตามเขาหินปูนในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติบางแห่งเท่านั้น


เลียงผาชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวตามหน้าผาหรือภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง เป็นป่าโปร่งหรือป่ารวก เนื่องจากเลียงผาและสัตว์จำพวกแพะ มีความสามารถในการปีนป่ายหรือกระโดดไปตามหน้าผาชันและขรุขระได้ดีมาก ทั้งยังสามารถปีนต้นไม้ที่งอกยื่นออกไปตามหน้าผาได้อีกด้วย นอกจากนี้เลียงผายังสามารถว่ายน้ำได้ดี ตอนกลางวันมักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามเพิงหินที่มีพุ่มไม้หนาหรือถ้ำ ตื้นๆ เพื่อกำบังแดดหรือฝน จะออกเที่ยวหากินตามที่โล่งตอนกลางคืน เช้าและเย็น กินพวกใบไม้ ยอดไม้เป็นอาหารหลัก
ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ของเลียงผาพบอยู่ในช่วงประมาณ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ระยะตั้งท้องประมาณ 7 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกจะอยู่กับแม่ประมาณ 1 ปี จึงจะแยกไปอาศัยอยู่ตามลำพัง อายุยืน
ประมาณ 10 ปี


โดยธรรมชาติของเลียงผา ซึ่งมีอวัยวะรับสัมผัสดีทั้งหู ตา และจมูก อีกทั้งมีถิ่นที่อยู่ตามเขาสูงชันที่คนและสัตว์อื่นทั่วๆไปไม่สามารถอยู่ได้ ศัตรูของเลียงผาจึงมีน้อย แต่ด้วยนิสัยที่ชอบอกมายืนนั่งริมหน้าผาโล่งจึงเป็นเป้าให้ถูกยิงได้ง่าย ประกอบด้วยความเชื่อที่ว่า น้ำมันเลียงผามีสรรพคุณเป็นยารักษากระดูก ทำให้เลียงผาถูกล่ากันอย่างมากมาย นอกจากนี้การระเบิดภูเขาหินปูนหรือการทำเกษตรกรรมตามลาดเขาทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของเลียงผาลดน้อยลง ต้องหลบหนีย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่จนถูกฆ่าตายในที่สุด


12.สมเสร็จ



: ผสมเสร็จ

: tapirus indicus Desmarest


: perissodactyla

ชื่อทางภาษาอังกฤษของสมเสร็จ ( Tapir ) มีต้นตอมาจากภาษาอังกฤษของพวกอินเดียในบราซิลว่า “Tapi” ถือได้ว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณมากที่สุดในโลก เช่นลักษณะและจำนวนกีบเท้า กระโหลกศรีษะที่สั้นแคบ และฟันที่ยังไม่พัฒนาอย่างฟันของแรดและม้า มีจำนวนฟัน 42-44 ซี่
บรรพบุรษของสมเสร็จมีต้นกำเนิดอยู่ในแถบซีกโลกเหนือในยุค Miocene มีวิวัฒนาการมาประมาณ 20 ล้านปี ลักษณะของต้นตระกูลสมเสร็จมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก พบว่าลักษณะของสมเสร็จนั้นคล้ายกับสมเสร็จในเอเชียในปัจจุบัน
ปัจจุบันพวกสมเสร็จจัดอยู่ในสกูลเดียวกันหมดคือ Yapirus จำแนกออกเป็น 4 ชนิด เป็นสมเสร็จของเอเชีย 1 ชนิดคือ สมเสร็จที่พบในประเทศไทยอีก 3 ชนิด มีถิ่นที่อยู่ในทวีปอเมริกา ได้แก่ สมเสร็จบราซิล ( T.terretris ) พบในแถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริกาใต้ สมเสร็จภูเขา( T.pinchaque )พบในแถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริการใต้ และสมเสร็จเบร์ด (T.bairdi)ในแถบอเมริกากลาง ทั้งนี้ลักษณะของสมเสร็จสายพันธุ์ทางทวีปอเมริกา ขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลคล้ำทั้งตัว ไม่มีเป็นขนสีขาว ช่วงกลางของละองลำตัวอย่างสมเสร็จเอเซีย งวงสั้นกว่า มีแผงขนคอยาวและมีขนาดเล็กกว่าสมเสร็จเอเซียมาก
สมเสร็จจัดอยู่ในพวกสัตว์กีบคี่ เช่นเดียวกับแรดและกระซู่ เนื่องจากมีลักษณะของนิ้วเท้าเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกีบแแข็ง เท้าหลังมีกีบนิ้วข้างละ 3 กีบ คล้ายกับของแรดและกระซู่ แต่เท้าหน้ามีกีบนิ้วข้างละ 4 กีบ
กีบนิ้วที่ 4 หรือนิ้วก้อยของเท้าหน้ามีขนาดเล็กกว่า และตำแหน่งของกีบแยกอยู่ด้านข้างระดันเหนือกีบนิ้วอื่น ๆ คล้ายเป็นกีบนิ้วส่วนเกินหรือกีบแขนง ปกติจึงไม่ค่อยได้ใช้รับน้ำหนักตัวอย่างกีบนิ้วหลัก 3 นิ้ว ที่เป็นแกนกลางของเท้าหน้า คาดว่าวิวัฒนาการต่อ ๆ ไปกีบนิ้วที่ 4 นี้ จะค่อย ๆ ลดขนาดหมดไปในที่สุด


รูปร่างของผสมเสร็จ คล้ายกับนำเอาลักษณะของสัตว์หลาย ๆ ชนิดมาผสมไว้ในตัวเดียวกัน มีจมูกและริมฝีปากปนยื่นออกมาและยึดหดได้ ลักษณะคล้ายงวงช้างยาวประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ใช้ปลายงวงจับฉวยสิ่งขิงไม่ได้อย่างงวงช้าง ลำตัวอ้วนใหญ่ ตาเล็กและใบหูตั้งคล้ายรูปไข่คล้ายกับหูหมู หางสั้นจู๋คล้ายหางหมี ขาสั้นใหญ่เทอะทะและมีกีบนิ้วแบนใหญ่คล้ายแรด ทำให้ได้ชื่อว่า “ สมเสร็จ หรือผสมเสร็จ “ นอกจากนี้ส่วนหลังของสมเสร็จจะโก่งนูน ช่วงบั้นท้ายสูงกว่าท่อนหัวประมาณ 10 เซนติเมตร มองดูลักษณะคล้ายสัตว์พิการหลังค่อม ขนตามตัวสั่นเกรียน สีขนตั้งแต่บริเวณรักแร้ไปตลอดท่อนหัวสีดำ ช่วงกลางลำตัวไปถึงบั้นท้ายและเหนือโคนขาหลังสีขาวปรอด ถัดจากโคนขาหลังลงไปถึงปลายเม้าสีดำอย่าท่อนหัว ดูลักษณะคล้ายนุ่งกางเกงในรัดรูปสีขาว ส่วนลูกสมเสร็จแรกเกิดสีขนดำทั้งตัว แต่มีริ้วลายสีชาวทั้งตัวคล้ายลายลูกแตงไทย เมื่อโตขึ้นลายและสีขนจะเปลี่ยนเป็นแบบตัวโตเต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป
สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่เช่นเดียวกับแรดและกระซู่ แต่ไม่มีนอหรือเขาบนจมูก หนังตามตัวไม่หนาเป็นรอยพับย่นอย่างแรดและกระซู่ มีแต่แผ่นหนังแข็งหนาบริเวณก้านคอ ทำให้สมเสร็จมุดป่ารกทึบได้ดี และยังช่วยป้องกันอันตรายจากเสือโคร่ง ที่ชอบตะปบกันที่ก้านคอของเหยี่อจนคอหักตายสมเสร็จไทยหรือสมเสร็จเอเชียมีขนาดใหญ่กว่าสมเสร็จพันธุ์อเมริกา และโดยเฉลี่ยแล้วตัวเมียจะทีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดตัวประมาณ 2.2 - 2.4 เมตร ส่วนสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม

กล่าวได้ว่าสมเสร็จเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพื้นเมืองเฉพาะถิ่นใต้ของถูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกเป็นทางการว่าเขตภูมิศาสตร์แบบ Indo – Malayan หรือ Sundiac เนื่องเพราะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบใต้เส้นรู้งที่ 18 องศาเหนือลงไปเท่านั้น มีพบในแถบภาคใต้ของเมียนม่าร์ ไทย แหลมมาลายู และสุมาตรา
ในประเทศไทยมีพบแหล่งที่อยู่อาศัยของ สมเสร็จแถบภาคตะวันตก บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตการกระจายพันธุ์สูงและเหนือสุดของสมเสร็จถัดใต้ลงมาพบ ถิ่นอาศัยของสมเสร็จในแถบเทือกเขาถนนธงชัยและป่าดิบชื้นภาคใต้ทั่ว ๆ ไปจดประเทศมาเลเซีย


นิสัยทั่วไปของสมเสร็จคล้ายกับแรด ชอบใช้ชีวิตสันโดษตามลำพัง อาศัยอยู่ตามป่าดิบรกทึบและเย็นชื้นไม่ชอบอากาศร้อน จึงมักชอบอาศัยอยู่ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เชื่อว่าสมเสร็จสามารถกบดานและเดินไปตามพื้นใต้น้ำได้ คล้ายกับฮิปโปเตมัสของเอฟริกา แต่ไม่ชอบนอนแช่ปลักโคลนอย่างแรด อีกทั้งมักถ่ายมูลรวม ๆ ไว้เป็นที่เป็นทาง
ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ของสมเสร็จอยู่ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ผสมพันธุ์กันในน้ำ ระยะตั้งท้องนาน 390 – 395 วัน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 6 – 7 กิโลกรัม ลักษณะมีลายพร้อยเป็นลูกแตงไทยทั้งตัว แม่จะเฝ้าเล้ยงดูลูกจนอายุปประมาณ 6 – 8 เดือน ขนาดของลูกจะโตเกือบเท่าแม่ ลายแตงไทยตามตัวจางหายไป เปลี่ยนเป็นสีดำสลับขาวอย่างพ่อแม่ จะย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้อายุประมาณ 2 – 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียมักจะมีการผสมพันธุ์และตั้งท้องได้ทูก 2 ปี อายุยืนประมาณ 30 ปี


พวกพรานนิยมล่าสมเสร็จเพื่อเอาเนื้อและหนัง เพราะมีขนาดใหญ่
เนื้อรสชาติคล้ายเนื้อหมู และนิสัยไม่ดุร้าย จึงล่าได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการบุกรุกทำลายป่าดิบชื้นของภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญและจำเป็นของสมเสร็จ เป็นผลให้ประชากรของสมเสร็จลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก

13.พะยูน



: หมุน้ำ หรือ ปลาดูหยง

: Dugong dugon

: Dogongidae



พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2319 โดยตัวอย่างต้นแบบที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮบถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่าแตดต่างกันมาก ขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปลาเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างปลาวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต จึงมีการจำแนกออกตั้งเป็นอันดับใหม่ คือ Sirenia


พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับโลมาและปลาวาฬ แตกต่างกันที่พะยูนไม่มีครีบหลังหางซึ่งแผ่แบนแยกเป็นสองแฉกคล้ายหางปลาในแนวราบและไม่มีแกนกระดูกเช่นเดียวกัน ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้วของพะยูนจะไม่มีเล็บซึ่งต่างจากพวกมานาตี หรือพะยูนแถบทวีปอเมริกา ขาหลังลดรูปหายไป ส่วนหัวกลมมน มีปาดอยู่ด้านล่างของหัว ริมฝีปากบนหนา มีขนหนวดขึ้นประปรายเมื่อโตเต็มที่ พะยูนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาว 1 คู่ ที่บริเวณขากรรไกรบน ลักษณะคล้ายงาช้างยื่นมาชัดเจน
ขนาดตัวของพะยูน มีความยาวรวมรวมครีบหางประมาณ 2.2 - 3.5 เมตร ขนาดของครีบหางกว้างประมาณ 0.75 - 0.85 ขนาดวัดรอบอกประมาณ 1.6 - 2.5 เม
ตร ครีบอกหรือขาหน้ายาวประมาณ 0.35 - 0.45 เมตรน้ำหนักตัวประมาณ 280 - 380 กิโลกรัม

พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก และตอนเหนือของทวีปออสเตเรีย ในประเทศไทยเคยมีพะยูนอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันคาดว่าจะมีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 70 ตัวในประเทศไทย


พะยูนเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด ปกติดำน้ำได้ไม่ลึก และอยู่ใต้น้ำได้ไม่นานอย่างกับโลมาและปลาวาฬ ต้องโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำอยู่เสมอ ลักษณะการแทะเล็มหญ้าทะเลของพะยูน ดูคล้ายการกินหญ้าของวัว ทำให้ได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า " วัวทะเล Sea cow " ระยะตั้งท้องประมาณ 1 ปี ปกติออกลูกท้องละ 1 ตัวคลอกลูกใต้น้ำ ลูกพะยูนแรกเกิดจะต้องรีบโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำทันที ต่อจากนั้นจะว่ายน้ำติดตามกินนมแม่ ซึ่งมีเต้านมอยู่ใต้ครีบอกประมาณ 1 ปี จึงจะหย่านม พะยูนจะโตเต็มที่อายุประมาณ 13 - 14 ปี อายุยืนประมาณ 40 ปี


เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร หรือหลงติดอวนดักปลาของชาวประมงจนเสียชีวิต และความเชื่อที่ว่าน้ำมันพะยูนใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ประกอบกับพะยูนแพร่ พันธุ์ได้ช้า และนิสัยการกินอาหารของพะยูนที่เลือกกินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลักซึ่ง ปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลถูกทำลายลงเหลือน้อยลงส่งผลให้พะยูนหาอาหารได้ยาก

14.แรด


: แรดชวา

: Rhinoceros sondaicus Desmarest

: Rhinocerotidae

แรดเป็นพวกสัตว์กับคี่ คือมี “ นอ ” มีนิ้วที่ปลายนิ้วพัฒนารูปร่างไปเป็นกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 กีบ กีบกลางขนาดใหญ่ กีบข้างทั้ง 2 กีบขนาดเล็กกว่า แตกต่างจากกีบเท้าของพวกวัว ควายแบะกวาง ซึ่งเป็นพวกกีบคู่ ขนาดเท่ากัน
ลักษณะเด่นของแรดมี “ นอ ” ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวอัดแน่นของเส้นขนจึงแข็งเป็นเขาต้น ไม่มีแกนกระดูก เป็นเขาเดี่ยวติดอยู่กึ่งกลางของกระดูกดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัวควายและกวาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกและกระโหลกศรีษะมี 2 อันดับคู่ แรดจึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Rhiniceros ซึ่งหมายความว่าสัตว์ที่เขาที่จมูก



แรดหรือแรดชวามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับแรดอินเดียและจัดว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกันหรือใกล้เคียงกันมาก ครั้นต่อมาจึงได้มีวิวัฒนาการแยกจากกันไปตามสภาพถิ่นที่อยู่ กลายเป็นต่างชนิดกันอย่างถาวรเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 19 นี่เอง
ลักษณะของแรด ลำตัวล่ำหนา ขาสั้นใหญ่ เท้ามีนิ้วเท้าลักษณะเป็นกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 กีบ ลักษณะรอยเท้าคล้ายรอยเท้าช้าง แต่มีรอยกีบข้างละ 3 กีบ รอยกีบปกติกลมไม่แหลมอย่างรอยเท้าสมเสร็จตาเล็กคล้ายตาหมูใบหูตั้งตรงผิว หนังตามตัวหนามากมีลายเป็นตุ่มเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วทั้งตัวและย่นเป็นรอยพับ ข้ามหลัง3 พับที่ด้านหน้าของหัวไหล่ด้านหลังของหัวไหล่และสะโพก และมีรอยที่โคนขาหน้าอีก 1 พับทำให้ดูคล้ายสวมเกราะหนัง ขนตามตัวมีน้อยประปรายหางไม่มีรอยสันนูนของโคนหางที่สะโพกอย่างแรดอีนเดีย และกระซู่ริมฝีปากบนยื่นเป็นจะงอยแหลมขยับเขยืนได้ใช้ดึงรั้งยอดไม้สูงๆ ใส่ปากกกินได้ มีฝันหน้าที่กรามล่าง4 ซี่ (ส่วนกระซู่มีฝันหน้ากรามล่าง 2ซี่) แรดตัวผู้จะมีนอยาว ขนาดของนอเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตรส่วนตัวเมียส่วนใหญ่จะมีนอโผล่ไห้เห็นเป็นปุ่มนูนเท่านั้น ซึ่งต่างจากแรดอินเดียที่มีคอยาวคล้ายคลึงกันทั้ง2เพศ
ขนาดของแรด ส่วนสูงที่ไหล่ 1.6-1.75 เมตร ขนาดตัว 3.0-3.2 เมตร หางยาว 0.7 เมตร น้ำหนักตัว 1,500 –2,000 กิโลกรัม

เขตการกระจายพันธุ์ของแรดหรือแรดชวาในอดีต มี
พบในบังคลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปถึงสุมาตราและชวา ปัจจุบันเชื่อว่าแรดชนิดน้ำได้สูธพันธุ์ไปจากแผ่นดินของทวีปเอเชียแล้ว ในประเทศไทยได้มีรายงานพบแรดอาศัยอยู่ตามป่าดิบบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี และทางภาคใต้บริเวณจังหวัดตรัง กระบี่ พังงาและระนอง แต่ได้เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วเช่นกัน
ปัจจุบันยังคงมีแรดหลงเหลืออยู่ในธรรมชาติแต่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่อุทยานแห่งชาติอุดจง คูลอน (Udjung Kulon National Park) ทางปลายสุดภาคตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 50 ตัวส่วนที่มีรายงายการพบแรดทางตอนใต้ของเวียดนาม 10-15 ตัว ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นทางการแน่นอน


แหล่งที่อยู่อาศัยของแรดเป็นป่าดิบชื้น ระดับพื้นราบไปถึงเขาสูงกว่า 1,000 เมตรได้ ปกติชอบอยู่ตามป่าร่มชื้น มีแหล่งน้ำสำหรับแช่ปลักโคลนหรือแช่น้ำเล่นในตอนกลางวัน สายตาของแรดไม่ดี แต่ประสาทรับกลิ่นและฟังเสียงดีมาก จึงมีนิสัยขี้หวาดระแวง ประกอบกับชอบอาศัยอยู่ตัวเดียวตามลำพังภายในพื้นที่ครอบครองของตน ซึ่งมีขนวาดกว้างประมาณ 7-10 กิโลเมตร ตารางกิโลเมตร โดยมีการถ่ายข้อมูลหรือพ่นปัสสาวะสีแดง ๆ ไปตามพุ่มไม้ เป็นการแสดงอาณาเขตหวงห้าม ทำให้ดูว่านิสัยของแรดนั้นดุร้าย
อาหารของแรดได้แก่ ใบไม้ ยอดอ่อน เครือเถาต่าง ๆ และไม้
ที่หล่นตามพื้นป่า ไม่ชอบกินหญ้า มีการพบเห็นว่า แรดจะดันต้นไม้เล็ก ๆ ล้มลงเพื่อกินใบและยอดอ่อน นอกจากนั้นแรดยังสามารถอดน้ำได้เป็นวัน ๆ ขณะเดินหาแหล่งน้าใหม่
แรดผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์แน่นอน วัยเจริญพันธ์ของตัวผู้อายุประมาณ 6 ปี ส่วนตัวเมียอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป แรดตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 46-48 วัน ระยะตั้งท้องประมาณ 16 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรดมีนอตั้งแต่แรกเกิด แม่จะดูแลเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 2 ปี ลูกจึงแยกไปอาศัยอยู่ตามลำพัง


สาเหตุที่ทำให้แรดสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย คือการถูกล่าเพื่อเอานอ และส่วนต่าง ๆ เช่น หนัง เลือดและกระดูก ซึ่งมีราคาสูงมาก เนื่องจากมีคำเชื่อที่ว่ามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศได้ แต่จากการตรวจวิเคราะห์ทางแพทย์นั้นไม่มีรายงานว่ามีสรรพคุณดังกล่าว ประกอบกับแรดมีอัตราการขยายพันธุ์ที่ต่ำมาก เนื่องจากผสมพันธุ์ได้ยาก ระยะตั้งท้องนานและออกลูกได้เพียงท้องละ 1 ตัวเท่านั้น นอกจากนี้การทำลายป่าดิบชื้น โดยเฉพาะตามที่ราบต่ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่แรดชอบอาศัยอยู่ ถูกทำลายหมดไปกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือที่อาศัยของคน ซึ่งแรดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สาเหตุสำคุญเหล่านี้ล้วนเป็นผลทำให้แรด สูญพันธุ์ไป


15.ละมั่ง



: ละอง

: Cervus eldi Mcleland

: Cervidae




ละอองหรือละมั่งเป็นสัตว์จำพวกกีบคี่ ( Even - toed Ungulate ) อันเดียวกันกับวัวควาย เนื่องจากเท้ามีนิ้วเท้าเจริญดีข้างละ 2 นิ้ว คือนิ้วที่ 3 และนิ้วที่ 4 พัฒนาไปเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่รวดเร็วและรับน้ำหนักตัวมาก ๆ ได้ ปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนรูปเป็นกีบนิ้วแข็งขนาดใหญ่เท่ากัน 2 กีบ ลักษณะเป็นกีบนิ้วยาวปลายเรียวแหลม
ละอองหรือละมั่งจัดอยู่สัตว์จำพวกกวาง ซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกแรกที่มีเขาบนหัว ลักษณะเขาเป็นคู่แบบ Antlers หรือที่เรียกว่าเขากวาง สัตว์จำพวกกวางและจำพวกกีบคู่ทั่ว ๆ ไปจะไม่มีเขี้ยวและฟันหน้าบนเป็นซี่ ๆ ใช้ร่วมกับฟันหน้าล่างเล็มกัดพวกใบพืชใบหญ้า คล้ายเคียวตัดหญ้า โดยทั่วไปจะมีถุงน้ำตาเป็นแอ่งลึกขนาดใหญ่บริเวณหัวตา ตัวเมียจะเต้านม 4 เต้าไม่มีถุงน้ำดี


ลักษณะเด่นของละออง หรือละมั่ง เป็นกวางขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัวเล็กและเพรียวบางกว่ากวางป่า ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย เส้นขนตามตัวละเอียดอย่างแน่นอย่างขนเก้ง สีน้ำตาลแกมเหลือง ช่วงคอยาว ใบหูกางใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีเส้นขนรอบคอหยาบยาว และสีขนตามตัวเข้มคล้ำกว่า ลูกเกิดใหม่จะมีแต้มจุดขาว ๆ ตามตัว เมื่อโตขึ้นจะจางหายไป
ลักษณะของเขาของละมั่งตัวผู้ มีลักษณะเฉพาะต่าง ไปจากเขาของกวางไทยชนิดอื่น ๆ เขากิ่งหน้าหรือ กิ่งรับหมายาวโค้งทอดไปบนหน้าผาก ทำมุมแคบกับสันหน้าผาก ปลายกิ่งเรียวแหลม ดูคล้ายกวางที่มีหน้าผากจึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Brow - antlered Deer ขนาดของละมั่งในประเทศไทยขนาดตัว 1.5-1.7 เมตร หางยาว 0.22-0.25 เมตร ส่วนสูงช่วงไหล่ 1.2-1.3 เมตร ใบหูยาว 0.15-0.17 เมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม


เขตการกระจายพันธุ์ของละมั่ง มีพบในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เมียนม่าร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน ไม่พบแพร่กระจายลงทางใต้ แถบภาคใต้ของไทย ตลอดแหลมมาลายู ทั้งนี้ละมั่งชนิดพันธุ์พม่ามีพบในแถบประเมศเมียนม่าร์และภาคตะวันตกของไทย ส้วนชนิดพันธุ์ไทยมีการกระจายในประเทศอินโดจีน ไหหลำ ละภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ประเทศไทยจึงได้ถือว่าเป็นศูนย์กลางของพันธุ์ละมั่ง แต่เดิมเคยมีชุกชุมตามป่าโปร่งเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ต่อมาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ละมั่งถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปหมดเกือบทุกแหล่ง ปัจจุบันคากว่าคงเหลืออยู่ในเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดพันธุ์ไทย และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ชายแดนไทย - เมียนม่าร์


ความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของละมั่ง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในอดีตยังมีฝูงละมั่งชุกชุมทั่วไป มีรายงานพบฝูงละมั่งขนาดใหญ่ประมาณ 50 ตัว แต่ในปัจจุบันเนื่องจากสภาพของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และจำนวนของละมั่งละลงอย่างมาก จึงพบแต่ละมั่งตัวเดียวหรือฝูงเล็ก ๆ โดยทั่วไปแล้วชอบอาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่งหรือป่าทุ่งใกล้ ๆหนองน้ำ ตอนกลางวันที่อากาศร้อน ๆ
ละมั่งจะหลบไปอยู่ตามใต้ร่มไม้ชายป่า ถ้าเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ซึ่งขี้ร้อนกว่า มักนอนแช่ปลักโคลนตามหนองน้ำอย่างพวกควาย ปกติไม่ชอบอาศัยอยู่ตามป่ารกทึบ โดยเฉพาะตัวผู้นิสัยการกินอาหารของละมั่งคล้ายกับพวกวัว ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่าง ๆ ตามพื้นที่ทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง ไม่ค่อนชอบกินใบไม้มากนัก
ฤดูผสมพันธุ์ของละมั่งไทยในธรรมชาติ พบอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ส่วนละมั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่ ตามส่วนต่าง ๆ มักจะไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ระยะตั้งท้องนาน 254-244 วันออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกแรกจะมีลายจุดสีขาว ๆ ตามตัว โตขึ้นจึงค่อย ๆ จางไป


สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของละมั่งในธรรมชาติลดน้อยลงจนใกล้จะสูญพันธุ์ มากกว่าการถูกล่า และป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยถูกทำลายไป ทั้งนี้เนื่องจากเขาและเนื้อของละมั่งมีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมซากสัตว์ป่า ประกอบกับนิสัยของละมั่งที่ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง มักเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่จะถูกบุกรุกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยทำให้ประชากรของ ละมั่งในธรรมชาติลดน้อยลงกระจักกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่สมารถแพร่กระจายพันธุ์เป็นปกติตามธรรมชาติได้
ปัจจุบันมีการนำเอาละมั่งมาเพาะเลี้ยงเพื่อเลี้ยงขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ต่าง ๆ และหน่วยงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของกรมป่าไม้ ได้อย่างแพร่หลายแต่ส่วนใหญ่เป็นละมั่งพันธุพม่าหรือทามีน มีละมั่งพันธุ์ไทยน้อยมาก